วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560



หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
     การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและ
ความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจน
ใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ � ส่วน ดังนี้��
      •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการ
มองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ
ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
      •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย � คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

          •  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน
              ตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป
              อย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
              จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
          •  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
              ด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
              ในอนาคตทั้งใกล้และไกล 


     เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้
และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
    ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน
    และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม
    มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
     แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ความรู้และเทคโนโลยี
" ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ …
จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
… หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.
… ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ
แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้.
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน.
…… พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้. "


เศรษฐกิจพอเพียง  
  “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต
แก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรง
เน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ
ครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะ
การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
     ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุก
ขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและ
นักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วย
ความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
     ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป
การดำเนินชีวิตในด้านของฉันที่แสดงถึงการนำพระราชดำรัสมาใช้

ฉันปลูกพืชผักสวนครัว บริเวณบ้านเพื่อนำมาประกอบอาหาร โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อผักจากตลาด

ประโยชน์ของการปลูกพืชผักสวนครัว
พืชผักสวนครัว      หมายถึง      พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวหรือแบ่งปันเพื่อนบ้านเป็นการสร้างความสัมพันอันดี  ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาประกอบอาหารได้ 4 ประเภท  ดังนี้
1.  ใช้ผลเป็นอาหาร  เช่น  แตงกวา  มะเขือเทศ  พริกหวานถั่ว เป็นต้น
2.  ใช้ใบและลำต้นเป็นอาหาร  เช่น  ผักกาดขาว  ตำลึง  ผักคะน้า  สะระแหน่ ผักชี เป็นต้น
3.  ใช้ดอกเป็นอาหาร  เช่น  กะปล่ำดอก  ดอกแค ขจร สลิด เป็นต้น
4.  ใช้หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร  เช่น  หอมหัวใหญ่  แครอต  กระเทียม  ขิง ข่า เป็นต้น
คุณค่าพืชผัก คือ เพิ่มคุณค่าทางอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากผักอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ผักยังใช้เป็นเครื่องชูรสอาหาร เนื่องจากผักมีสีสันต่างๆมากมาย รวมทั้งกลิ่นและรสของผักต่างๆมีส่วนในการเพิ่มรสอาหารให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
1.การปลูกพืชผักสวนครัวกินเองทำให้ได้ผักที่สด ใหม่ และปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ เนื่องด้วยเราปลูกเอง และเมื่อเหลือกินยังสามารถนำไปขายเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
2.การปลูกพืชผักทำให้เกิดความสุขทางใจและได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เปิดโอกาสให้ครอบครัวอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น นับว่าเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีค่ายิ่ง
3. ใช้รับประทานเป็นอาหารโดยอาจรับประทานสดๆ เช่น แตงกวา กะหล่ำปลีหรือนำไปปรุงเป็นอาหารก่อน ซึ่งผักแต่ละชนิดจะมีสารอาหารที่แตกต่างกันเช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ เป็นต้น
4. ใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรค เช่น หอม กระเทียม ขิง สะระแหน่ ย่านาง ว่านลางจืด ชะพลู เป็นต้น
5. ทำให้ผู้ปลูกมีร่างกายแข็งแรง เพราะต้องพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย และดูแลผักอยู่เสมอ ทำให้ได้ออกกำลังกายไปในตัว
6. ทำเป็นรั้วบ้านได้ คือ ปลูกล้อมกั้นเป็นเขตของบ้าน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าผักสวนครัว รั้วกินได้” เช่น กระถิน ชะอม ตำลึง มะระ ผักหวานบ้าน  เป็นต้น
7.การปลูกพืชตระกูลไม้เลื้อย ช่วยเป็นร่มเงาบังแสงแดด บังลมและฝนได้ นอกจากใช้เป็นอาหารแล้วยังช่วยกันความร้อนจากแสงแดดสะสมในกำแพงคอนกรีตหรือตัวบ้านได้อีกด้วย
8.ได้อากาศ บรรยากาศที่ดี มีเสียงนก เห็นนก ผีเสื้อมีอารมณ์ที่ดี ที่เกิดมาจากสมาธิและความพึงพอใจในการทำกิจกรรมภายในสวน ลดความเครียด ปัญหาความวุ่นวายต่างๆในชีวิตประจำวัน

 9.เกิดปติสัมพันธ์ที่ดี ของคนในครอบครัวที่ใช้เวลาว่างหรือวันหยุดมาพักผ่อนหรือมาทำกิจกรรมร่วมกัน ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคนในครอบครัว